ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายอาญา



ประวัติศาสตร์กฎหมายอาญาไทย


แม้ว่าตามแนวคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญา กฎหมายควรจะมีการบัญญัติขึ้นจากเจตจำนงค์ของประชาชน (ภาษาเยอรมัน Volkgeist) ก็ตาม แต่ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน มิได้มีการบัญญัติขึ้นตามแนวคิดดังกล่าว หากแต่เป็นการเร่งรัดและรีบให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้กฎหมายมีความ เหมาะสมตามกาลสมัยที่พัฒนามาจาก กฎหมายลักษณะอาญา รศ.๑๒๗ เพื่อให้กฎหมายมีความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ (ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙)


หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป

   1. กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดี ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
   2. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
   3. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ใน ขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
   4. กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อย พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไป พร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่า นั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
   5. ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเภทของความผิด

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

   1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
   2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2

มูลมังอีสาน

สำบายดีครับ

มูลมังอีสาน

ยินดีที่รู้จักสมาชิกใหม่อีสานไทเฮา

มูลมังอีสาน

ยินดีที่ได้รู้พี่น้องวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

ประวัติศาสตร์กฎหมายอาญาไทย

แม้ว่าตามแนวคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญา กฎหมายควรจะมีการบัญญัติขึ้นจากเจตจำนงค์ของประชาชน (ภาษาเยอรมัน Volkgeist) ก็ตาม แต่ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน มิได้มีการบัญญัติขึ้นตามแนวคิดดังกล่าว หากแต่เป็นการเร่งรัดและรีบให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้กฎหมายมีความ เหมาะสมตามกาลสมัยที่พัฒนามาจาก กฎหมายลักษณะอาญา รศ.๑๒๗ เพื่อให้กฎหมายมีความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ (ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙)
[แก้] ประวัติศาสตร์กฎหมายอาญาสากล
[แก้] หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป

1. กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดี ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
2. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
3. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ใน ขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
4. กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อย พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไป พร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่า นั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
5. ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

[แก้] ประเภทของความผิด

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

[แก้] ลักษณะของการเกิดความผิด

กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

1. ความผิดโดยการกระทำ
2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

[แก้] สภาพบังคับของกฎหมายอาญา

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญา ตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยว กับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการ กระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับจราจรทางบก

                                                 กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก
               
กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก กำหนดหน้าที่ของผู้ขับขี่ยานพาหนะในถนน ซึ่งผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกคนต้องรู้และปฏิบัติตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมาย จราจรอย่างเคร่งครัดและผู้เดินเท้าก็ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า

                ในสังคมปัจจุบันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปมาก การคมนาคมสะดวกขึ้น ในสมัยโบราณจะเดินทางไปที่ใดก็อาศัยการเดิน ถ้าเดินทางไปในระยะทางไกลก็จะใช้สัตว์เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าการคมนาคมรวดเร็วทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก มีรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นพาหนะจำนวนมากขึ้นตามฐานะเศรษฐกิจของพลเมือง ดังนั้นจึงมีกฎหมายว่าด้วยการจรจรทางบกขึ้นมาเป็นหลักเพื่อควบคุมการใช้เส้นทางของผู้ขับขี่ คนเดินท้าคนจูงหรือหรือไล่ต้อนสัตว์
                ให้ปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย เพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม   วัตถุประสงค์สำคัญของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 คือ   ต้องการควบคุมการใช้รถใช้ถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

1. สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร
                สัญญาณจราจร หมายถึง สัญญาณใดๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีดหรือด้วยวิธีอื่น สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น   เครื่องหมายจราจร หมายถึง เครื่องหมายใดๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

2. การปฏิบัติตามกฎจราจร
                1. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
                        1.1 สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุด เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ได้เลยเส้นให้หยุดไปแล้วให้เลยไปได้
                        1.2 สัญญาณจราจรไฟสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า “หยุด” ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถ
                        1.3 สัญญาณจราจรไฟสีเขียว หรือเครื่องหมายจราจรสีเขียนที่มีคำว่า “ไป” ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
                        1.4 สัญญาณจราจรไฟสีแดง แสดงพร้อมกับลูกศรสีเขียวให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้    ในการใช้ทางตามที่ลูกศรชี้ ผู้ขับขี่ต้องใช้เส้นทางด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้าม หรือผู้ขับขี่ที่มาทางขวาก่อน
                        1.5 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีแดง ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใด และเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้านนั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
                        1.6 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีเหลืองอำพัน ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใด ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง    ผู้ขับขี่ซึ่งจะขับรถตรงไป ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ตรงไป ส่วนผู้ขับขี่ที่จะเลี้ยวรถ ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เลี้ยว   การเข้าอยู่ในช่องเดินรถดังกล่าว จะต้องเข้าตั้งแต่เริ่มมีเครื่องหมายแสดงให้ปฏิบัติเช่นนั้น
                2. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
                        2.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าหนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้า ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้
                        2.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับผ่านไปได้
                        2.3 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
                        2.4 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น โบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้
                        2.5 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ การหยุดรถให้หยุดหลังเส้นให้หยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้หยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                3. ผู้ขับขี่รถต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีต่อไปนี้
                        3.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที
                        3.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้
                4. การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
                    นักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดบางคนจะขับขี่รถจักรยานไปโรงเรียน หรือผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯบางคนก็ขับขี่รถจักรยานในระยะทางใกล้ๆ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อปฏิบัติของผู้ขับขี่รถจักรยานดังนี้
                        1. ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับขี่ในทางนั้น
                        2. รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
                                1) กระดั่งที่ให้สัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
                                2) เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
                                3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้า เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
                                4) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหลังหรือวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกไฟส่องให้มีแสงสะท้อน
                    3. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำให้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่จักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
                    4. ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติดังนี้
                            1) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                            2) ขับรถโดยไม่จับคันบังคับรถ
                            3) ขับขนานกันเกินสอง เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
                            4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่ที่นั่งที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
                            5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อมสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
                            6) บรรทุกหรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใดๆในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                            7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

3. การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
                    คนไทยทุกคนต้องรู้การปฏิบัติตนตามกฎจราจรของคนเดินเท้า คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเดินข้ามถนนหรือไม่เคยเดินบนถนน โดยเฉพาะนักเรียนจะต้องเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน จะต้องรู้ข้อปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้าดังนี้
                    1. ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน
                    2. ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้าม ห้ามคนเดินเท้าข้ามนอกทางข้าม
                    3. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้าให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้าทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้าทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถ ให้ข้าทางเดินรถโดยเร็ว
                    4. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้าม หรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการใช้ทาง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดงให้รถหยุดทางด้านของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่รถหยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถผ่านทางด้านใดของทาง ห้ามคนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันกะพริบทางด้านใดของทางให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามทางเดินรถ หยุดรอบนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้ามให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว
                    5. ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่
                            1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
                            2) แถวหรือขบวนแห่ หรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจรากำหนด

4. ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎจราจร
                    1. ทำให้การจราจรบนท้องถนนไม่ติดขัด เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดในการขับขี่ยานพาหนะแต่ละคนก็ขับขี่ไปตามเส้นทางของตน ตามกันข้าม  ถ้ามีบางคนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดได้
                    2. การปฏิบัติตามกฎจราจรจะเป็นการปัองกันอุบัติเหตุที่จะน่ามาซึ่งความสูญเสียในชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่เสมอ จะเห็นได้จากข่าวอุบัติเหตุตามท้องถนนสายต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด นักเรียนเป็นผู้หนึ่งจะมีส่วนช่วยรณรงค์ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร

เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน
ต1 ทางโค้งซ้าย
ต2 ทางโค้งขวา
ต3 ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย
ต4 ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา
ต5 ทางโค้งกลับเริ่มซ้าย
ต6 ทางโค้งกลับเริ่มขวา
ต7 ทางโค้งกลับรัศมีแคบเริ่มซ้าย
ต8 ทางโค้งกลับรัศมีแคบเริมขวา
ต9 ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย
ต10 ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา
ต11 ทางโทตัดทางเอก
ต12ทางโทแยกทางเอกทางซ้าย
ต13ทางโทแยกทางเอกทางขวา
ต14ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย
ต15ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มขวา
ต16ทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้าย
ต17ทางโทเชื่อมทางเอกจากขวา
ต18ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย
ต19ทางโทแยกทางเอกทางขวารูปตัววาย
ต20ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง
ต21ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง
ต22สัญญาณจราจร
ต23ทางแคบลงทั้งสองด้าน
ต24ทางแคบด้านซ้าย
ต25ทางแคบด้านขวา
ต26ทางคู่ข้าหน้า
ต27สิ้นสุดทางคู่
ต28ช่องทางจราจรปิด
ต29วงเวียนข้างหน้า
ต30สะพานแคบ
ต31ทางแคบ
ต32ทางลอดต่ำ
ต33ทางขึ้นลาดชัน
ต34ทางลงลาดชัน
ต35เตือนรถกระโดด
ต36ผิวทางขรุขระ
ต37ทางเป็นแด่ง
ต38ทางลื่น
ต39ผิวทางร่วน
ต40สะพานเปิดได้
ต41สะพานเปิดได้
ต42ทางกำลังซ่อม
ต43ระวังคนข้ามถนน
ต44โรงเรียนระงังเด็ก
ต45ระวังเครื่องบินบินต่ำ
ต46ระวังทางข้ามทางวิ่งของเครื่องบิน
ต47ระวังสัตว์
ต48ระวังอันตราย
ต49 สายไฟแรงสูงพาดต่ำ
ต50 เตือนทางโค้ง
ต51 ทางเดินรถสองทาง
ต52 ทางเดินรถสองทางตัดผ่าน
ต53 ให้เปลี่ยนช่องทางจราจร
 www.bp-smakom.org/BP_School/Social/.../Law-Street-triffic.htm

การจราจร

กฎจราจร

                                                       ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร
เมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย "หยุด"

รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ
1.  รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น
ี่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
2.  รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนดอ
3.  รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4.  รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ
5.  รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร
6.  รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย)
7.  รถที่ได้เสียภาษีประจำปี
8.  รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.  ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2.  ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3.  ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4.  กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน

การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้
      ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และ ต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้อง หยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ
ขับผ่านมาก่อน
 

ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
1.  ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
2.  ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
3.  ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร
 

กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ
1.  ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
2.  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง

เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ห้ามใช้เกียร์ว่าง
2.  ห้ามเหยียบคลัทซ์
3.  ห้าใช้เบรคตลอดเวลา
4.  ห้ามดับเครื่องยนต์
5.  ใช้เกียร์ต่ำ
6.  ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
7.  ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา

ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน
2.  ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน

ขอกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร
1.  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.  นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
1.  ใบอนุญาตขับรถ
2.  สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ

การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
2.  สัญญาณมือ
     - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
     - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง
3.  การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น  เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร

เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร
      ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้

ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร
      30  เมตร

บริเวณใดห้ามกลับรถ
1.  ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
2.  ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
3.  บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
4.  บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ

บริเวณใดห้ามแซง
1.  ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่
     - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
     -  ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป
2.  ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
3.  ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
4.  ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
5.  ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
6.  ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
7.  ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ

ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด
1.  ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
2.  ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
3.  ในลักษณะกีดขวางการจราจร
4.  โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
5.  ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
6.  คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
7.  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ
8.  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
9.  ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)
10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร
จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป

ข้อห้ามของผู้ขับรถ
1.  ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน
2.  ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
3.  ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
4.  ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน

เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
2.  หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร
3.  จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
4.  ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง

บริเวณใดห้ามจอดรถ
1.  บนทางเท้า
2.  บนสะดานหรือในอุโมงค์
3.  ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.  ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
7.  ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
8.  ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
9.  จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
12.ในที่คับขัน
13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร
16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน

การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่ จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร
ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
2.  บนทางเท้า
3.  บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.  ในทางร่วมทางแยก
5.  ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
6.  ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
7.  ในเขตปลอดภัย
8.  ในลักษณะกีดขงวางการจราจร

การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2.  เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
3.  เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง
4.  เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5.  เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก
     ไปทางซ้ายหลายครั้ง

ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)
ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร
ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น

การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
2.  ความยาว
     -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
     - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
3.  ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
4.  ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือ
ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน

กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
2.  ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ     150  เมตร

เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
2.  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
2.  ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
     2.1  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน)
         หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ     
     2.2  นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
          และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง
        

การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
2.  การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร
3.  ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน
       
phuket.dlt.go.th/data/law3.htm

กฎหมายครอบครัว

                                                              กฎหมายครอบครัว
การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที

กรณีของหมั้นเป็นขอบบุคคลภายนอกมีข้อพิจารณา ดังนี้
(๑) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้นและเจ้าของไม่ยินยอมอนุญาตให้ยืมเอาไปเป็น ของหมั้น เจ้าของนั้นมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๐ แต่ถ้าเป้นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริตแล้ว เจ้าของเงินตรามาเอาคืนไม่ได้ เพราะสิทธิของหญิงคู่หมั้นที่ได้เงินตรามาโดยสุจริตไม่เสียไปตามมาตรา ๑๓๓๑
(๒) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้น เจ้าของทรัพย์สินให้ยืมไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมชั่วคราว เมื่อหญิงไม่รู้เรื่องด้วยแล้ว ของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายยกให้หญิงไม่ใช่ในฐานะเป็นสินสอดหรือของหมั้น หากหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

ลักษณะสำคัญของของหมั้น
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน
๒. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมมรส (ถ้าให้หลังสมรสก็ไม่ใช่ของหมั้น)

การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
๑. คู่สัญญาหมั้นทั้ง ๒ ฝ่าย ตกลงยินยอมเลิกสัญญา
- ตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
- ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย
- คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยจะเรียกค่าทดแทนอะไรจากกันไม่ได้
๒. ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย
- การตายไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น
- หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นหรือสินสอด แม้ความตายจะเกิดจากการฆ่าตัวตายหรือถูกอีกฝ่ายจงใจฆ่าตายก็ตาม
- ความตายที่ว่านี้ไม่รวมถึงการสาบสูญ
๓. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น
- ใช้เหตุเดียวกับเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ ส่วนเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุหย่าก็ถือเป็นเหตุสำคัญได้ เช่น คู่หมั้นถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย หรือถูกศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นต้น
- โดยหลักแล้วไม่ว่าฝ่ายชาหรือหญิงเลิกสัญญาหมั้นเพราะเหตุสำคัญอันเกิดจาก หญิงหรือชายคู่หมั้น ฝ่ายชายหรือหญิงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ แต่หากเหตุที่เกิดปก่คู่หมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ฝ่ายนั้นตามมาตรา ๑๔๔๔ ยกเว้นไว้ว่าคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนเสมือน เป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
๓.๑ ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น เช่น หญิงยินยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีในระหว่างการหมั้น หญิงวิกลจริตหรือได้รับอันตรายสาหัสจนพิการ หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น ผลคือ ชายเรียกของหมั้นคืนได้และหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย
๓.๒ หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายไร้สมรรถภาพทางเพศ เป็นคนวิกลจริตหรือพิการ เป็นนักโทษและกำลังรับโทษอยู่ ร่วมประเวณีกับหญิงอื่น ไปเป็นชู้กับภริยาคนอื่น ข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น เป็นต้น นอกจากนี้แม้เหตุสำคัญดังกล่าวจะมาจากความผิดของหญิงคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ผลของการบอกเลิกสัญญาหมั้นหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชาย


การสมรสหลักเกณฑ์การสมรส มีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเปินหญิง
๒. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงสมรสกันโดยไม่ได้เกิดจากความยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
๓. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต
๔. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว

เงื่อนไขการสมรส
๑. ชายและหญิงต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็น
โมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๓
๒. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
๓. ญาติสนิทสมรสกันไม่ได้ ญาติสนิทมี ๔ ประเภท คือ
(๑) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
(๒) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา
ผลของการฝ่าฝืนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต ญาติสนิทถือตามความเป็นจริง
๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นก็ยังคงสมบูรณ์ มีผลเพียงการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๔๕๑ เท่านั้น
๕. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนเป้นการสมรสซ้อนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต
(๑) แม้คู่สมรสอีกฝ่ายจะสุจริตโดยไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม การสมรสนั้นก็ยังต้องเป็นโมฆะอยู่
(๒) คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น ก่อนที่จะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
(๓) กรณีชายหรือหญิงมีคู่สมรสแล้ว แต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ชายหรือหญิงนั้นไม่อาจสมรสใหม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะเสียก่อน
๖. ชายหรือหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หากไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกันจริงๆ การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างชาย หรือหญิงนั้นเป็นโมฆะได้ตามมาตรา ๑๔๙๖ วรรคสอง


๗. หญิงหม้ายจะสามารถใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน (มาตรา ๑๔๕๓) แต่มีข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายทำการสมรสได้ ๔ ประการคือ
(๑) หญิงนั้นได้คลอดบุตรแล้ว
(๒) หญิงนั้นสมรสกับสามีคนก่อน
(๓) มีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นมิได้ตั้งครรภ์
(๔) มีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้
การสมรสที่ฝ่าฝืนนี้สมบูรณ์และบุตรที่เกิดมาภายใน ๓ๆ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ตาม มาตรา ๑๕๓๗
๘. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

การหย่า
การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย
(๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง
(๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์

๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้
๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

๒.๓ สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นการร้ายแรง
๒.๔ สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี
๒.๕ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร
๒.๖ เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) แบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
(๑) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี
ข้อสังเกต ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจฝ่ายเดียว
(๒) แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเกิน ๓ ปี
๒.๗ สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร
๒.๘ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย หรือเดือนร้อนเกินควร
๒.๙ สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๐ สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๑ สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้
๒.๑๒ สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ
(๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น
(๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย
(๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว

อายุความฟ้องหย่า
๑. กรณีเหตุหย่าบางเหตุซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อันได้แก่ อุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว หรือทรมานจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออุปการระเลี้ยงดู กันหรือกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป้นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง กำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตน อาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
๒. กรณีเหตุหย่าที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือเป้นดรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น ไม่มีอายุความ ตราบใดที่มีเหตุนั้นก็ฟ้องหย่าได้
๓. กรณีผิดทัณฑ์บนไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ แต่ให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

การขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องหย่า ได้ในเรื่อง
(๑) สินสมรส
(๒) ที่พักอาศัย
(๓) การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา
(๔) การพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
นอกจากเรื่องทั้ง ๔ เรื่องข้างต้นแล้ว อาจขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง
ประโยชน์ของตนได้อีกตามที่ศาลเห็นสมควร


www.siamjurist.com ? ... ? กฎหมาย ? ห้องติว 

ที่ดิน

กฎหมายที่ดิน

                                                     ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ดิน
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับใช้เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นระเบียบการเกี่ยวกับที่ดินจึงมีความละเอียดอ่อนมาก เพื่อให้ประชาชนผู้สุจริตได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องที่ดินที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันบางส่วนไว้บ้าง จึงได้รวบรวมข้อควรทราบและทางปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ

                ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนองคลองบึง ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1)

คำว่าที่ดินมิได้หมายถึงเนื้อดินอันเป็นกรวดทราย โคลน เลน แต่หมายถึงอาณาเขตอันจะพึงวัดได้เป็นส่วนกว้างส่วนยาวอันประจำอยู่แน่นอนบนพื้นผิวโลก เป็นส่วนหนึ่งของผิวพื้นโลกอันมนุษย์จะพึงอาศัย กรวด ทราย หิน ดิน โคลน แร่ธาตุที่อาจจะขุดขึ้นมามิใช่ตัวที่ดิน หากเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ที่ดินนั้นจึงเป็นสิ่งไม่อาจทำลายทำให้สูญหาย หรือเคลื่อนย้ายอย่างใดๆ ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยนสภาพไปเช่นเปลี่ยนสภาพเป็นทางน้ำสาธารณะ

ประเภทที่ดิน

1. ที่ดินของเอกชน รวมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดินมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

                2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

                สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัด
โรงทหาร

สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้

                1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้

                2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ

                3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน

หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินมีอยู่ 4 อย่าง

                1. โฉนดแผนที่ เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน ฉบับแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยออกเมื่อ ร.ศ.120 (พ.ศ. 2445) และ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) ออกโดยมีการรังวัดทำแผนที่ระวาง ป้องกันการเกิดการทับที่ซ้อนที่ ผู้ถือหนังสือนี้มีกรรมสิทธิในที่ดินของตนโดยสมบูรณ์ตลอดไปจนกระทั่งปัจจุบัน

                2. โฉนดตราจรอง เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินออกตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ.124 ประกาศใช้ในมณฑลพิษณุโลก ที่เป็นจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ สุโขทัย และบางส่วนของนครสวรรค์ ในจังหวัดอื่นไม่มีการออกโฉนดตราจองการรังวัดทำแผนที่ไม่มีระวางยึดโยง ทำเป็นแผนที่รูปลอย เป็นแปลงๆ ไป

                3. ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ออกให้ในกรณีที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จับจองเป็นใบเหยียบย่ำมีอายุ 2 ปี หรือผู้ได้รับตราจองที่เป็นใบอนุญาต มีอายุ 3 ปี และได้ทำประโยชน์ในที่ดินภายในกำหนดแล้วมีสิทธิจะได้รับตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

                4. โฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มี 6 แบบ น.ส.4 , น.ส. 4 ก. ,น.ส. 4 ข., น.ส. 4 ค.,น.ส. 4 ง. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 15,17 ปัจจุบันไม่ออกแล้ว) น.ส. 4 จ. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 34) ปัจจุบันโฉนดที่ดินออกตามแบบ น.ส.4 จ
                                                                                                                                                                   การออกโฉนดที่ดิน

               

                ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศเขตเพื่อจะออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58,58 ทวิ)

                ข. การออกโฉนดที่ดิน เฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59)

ที่ดินมือเปล่า

                คือ ที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 อย่างต่อไปนี้ คือไม่มีโฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ที่ดินมือเปล่านั้นอาจจะไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย หรือมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบเหยียบย่ำ ตราจองที่เป็นใบอนุญาต ส.ค.1 ใบจองหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือใบไต่สวน

ส.ค.1

                ส.ค.1 คือ หนังสือแจ้งการ ครอบครองที่ดินที่ผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวล กฎหมายที่ดินใช้บังคับไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ว่าตนครอบครองที่ดินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด
นายอำเภอจะออกแบบ ส.ค.1 ให้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส.ค.1 มีลักษณะสำคัญแสดงให้ทราบว่ามีเนื้อที่เท่าใดใครเป็นเจ้าของ ตำแหน่งอยู่ที่ใด ที่ดินได้มาอย่างไร มีหลักฐานแห่งการได้มา และสภาพที่ดินเป็นอย่างไร

                ส.ค.1 ที่ผู้แจ้งได้มาไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิที่เคยมีอยู่หรือไม่เคยมีอยู่ของผู้แจ้งต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด คือ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด ไม่ใช่หนังสือรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง ความเป็นเจ้าของผู้แจ้ง ผู้แจ้งต้องพิสูจน์เอาเอง

ใบจอง

                ใบจองเป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ผู้ที่ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ ซึ่งจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราวๆ ในแต่ละท้องที่)

                ผู้มีใบจองจะต้องจัดการทำประโยชน์ในที่ดินที่ราชการจัดให้ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (การทำประโยชน์ให้แล้วเสร็จ หมายถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินที่จัดให้) และที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่คนอื่นไม่ได้ต้องทำประโยชน์ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อทำประโยชน์เสร็จถึง 75% แล้ว ก็มีสิทธิมาขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส. 3 ได้เหมือนกับผู้มี ส.ค.1 มี 2 กรณี คือ

                1. เมื่อทางราชการเดินสำรวจทั้งตำบลเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3 ให้

                2. มาขอออกเองเหมือนกับผู้มี ส.ค.1

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)
                คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (นายอำเภอ) ว่าผู้ครอบครองที่ดินได้ทำประโยชน์แล้ว มี 2 แบบ คือ แบบ น.ส.3 และ น.ส. 3ก

                แบบ น.ส.3ก ให้ใช้เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีกำหนดตำแหน่งทีดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ

                ที่ดินที่มีมี น.ส.3 นี้ถือว่ามีสิทธิครอบครองคือมีสิทธิยึดถือทรัพย์นั้นไว้เพื่อตน เป็นสิทธิที่มีความสำคัญรองลงมาจากกรรมสิทธิ (แต่ทางพฤตินัยก็ถือว่าเป็นเจ้าของเช่นกัน) นอกจากนี้เวลาจะโอนให้คนอื่น ไม่ว่าจะขายหรือยกให้ หรือจำนองก็สามารถทำได้ แต่ต้องไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ไม่ใช่สำนักงานที่ดิน

                ที่ดิน น.ส.3 นี้ เป็นที่ดินที่เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เจ้าของที่ดินมีสิทธินำ น.ส.3 มาขอออกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้
กรรมสิทธิได้ 2 กรณี คือ

                1. เมื่อทางราชการจะออกโฉนดที่ดินให้โอนการเดินสำรวจทั้งตำบล

                2. มาขอออกเองเป็นเฉพาะราย เหมือนผู้มี ส.ค.1 หรือ น.ส.3

ใบไต่สวน (น.ส.5)

                เป็นหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน (กฎกระทรวงฉบับที่ 5) ใบไต่สวนจะออกให้ต่อเมื่อบุคคลมารังวัดโฉนดที่ดินจะเป็นการรังวัดเฉพาะแปลง(ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59) หรือรังวัดเป็นท้องที่ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58) ก่อนออกโฉนดที่ดินพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำการรังวัดตรวจสอบที่ดินเพื่อทำแผนที่ระวาง และสอบสวนสิทธิว่าเป็นที่ดินของใคร มีบิดา มารดาชื่ออะไร มีอายุเท่าไร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณเท่าไร มีเขตข้างเคียงแต่ละทิศจดอะไร และมีหลักฐานสำหรับที่ดินอย่างไรบ้าง
ข้อความที่สอบสวนรังวัดมาได้ จะต้องจดไว้ในใบไต่สวนและให้เจ้าของที่ดินลงชื่อรับรอง และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสอบสวนลงชื่อไว้ด้วย

                ใบไต่สวน เป็นพยานเอกสารที่แสดงว่า ผู้มีชื่อในใบไต่สวนนำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินแปลงนั้นๆ แล้ว ใบ
ไต่สวนไม่ใช่เอกสารสิทธิ แต่มีประโยชน์สำหรับ ผู้มีชื่อในใบไต่สวนที่ถูกฟ้องคดีหาว่าสละสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงนั้น อาจอ้างใบ
ไต่สวนเป็นพยานเอกสารต่อสู้ได้ว่าตนเองยังมีเจตนายึดถือครอบครองอยู่ มิฉะนั้นคงไม่นำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดิน และเป็นเอกสารที่ยืนยันว่ามีที่ดินมีเนื้อที่ประมาณเท่าไร แต่ละทิศจดที่ดินข้างเคียงแปลงใด และเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของได้ครอบครองตามเขตที่แสดงไว้ในใบไต่สวนแล้ว

ที่ดินมือเปล่าแตกต่างกับทีดินมีโฉนด

                1. ที่ดินมีโฉนด เจ้าของมีกรรมสิทธิ กล่าวคือ มีสิทธิใช้สอย, จำหน่าย, ได้ดอกผลและติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

                ที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองซึ่งเกิดขึ้นจากการยึดถือที่ดินนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน

                2. ที่ดินมีโฉนด ถูกครอบครองปรปักษ์ได้กล่าวคือ หากมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองที่ดินมีโฉนดโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกัน10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิแต่ต้องไปขอให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ และนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดิน

                ที่ดินมือเปล่า ถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ส.ค.1 หรือ น.ส.3 มีคนมาครอบครอง 10 ปี หรือ 20 ปี ผู้ครอบครองก็คงมีแต่สิทธิครอบครอง ดังนั้นผู้มาแย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าจากเจ้าของเดิมเกิน 10 ปี จะต่อสู้ว่าตนได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์แล้วไม่ได้แต่ต้องต่อสู้ว่าตน ได้สิทธิในที่ดินนั้นแล้วเนื่องจากเจ้าของเดิมถูกแย่งการครอบครองแล้วไม่ ฟ้องร้องภายใน 1 ปี
ผู้ครอบครองเดิมย่อมสูญสิ้นในที่ดินของตน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375)

                3. ที่ดินมีโฉนด พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียน คือ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

                - ที่ดินมือเปล่า พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนคือนายอำเภอหรือผู้ทำการแทนปลัดอำเภอผู้ เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

                4. ที่ดินมีโฉนด อายุความการทอดทิ้งให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ที่ดินมีโฉนดทอดทิ้งเกิน 10 ปีติดต่อกัน (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6)

                ที่ดินมือเปล่า หากเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทอดทิ้งเกิน 5 ปี ติดต่อกันที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐ สำหรับที่ดินมือเปล่าประเภทอื่น เช่น ส.ค.1 ใบจอง หากผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป การครอบครองย่อม
สุดสิ้นที่ดินตกเป็นของรัฐทันที

เจ้าของที่ดินมือเปล่าจะสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตนได้โดยประการหนึ่งประการใดดังต่อไปนี้

                1) โดยเจ้าของที่ดินมือเปล่าโอนที่ดินของตนให้ผู้อื่นหากเป็นที่ดินมีหนังสือ รับรองการทำประโยชน์โอนโดยการจดทะเบียนต่อนายอำเภอท้องที่ซึ่งที่ดินตั้ง อยู่ หากเป็นที่ดิน ส.ค.1 โอนโดยการส่งมอบการครอบครองซึ่งใช้ยันกันได้ระหว่างเอกชนเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378-1380)

                2) โดยการสละเจตนาครอบครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) เช่นเจ้าของที่ดินมือเปล่า สค.1 ทำหนังสือโอนขายกันเอง เป็นการแสดงเจตนาว่าผู้ขายสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป

                3) โดยไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) การที่เจ้าของที่ดินมือเปล่าเลิกยึดถือที่ดินเป็นการแสดงเจตนาละทิ้ง เลิกครอบครอง การซื้อขายที่ดินมือเปล่า โดยมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือกันนั้นเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาและ
ผู้ขายสละสิทธิให้ผู้ซื้อเข้าปกครองอย่างเจ้าของโดยผู้ขายเลิกยึดถือที่ดินนั้นต่อไป ที่ดินย่อมเป็นสิทธิของผู้ซื้อ

                4) โดยถูกแย่งการครอบครองแล้วเจ้าของที่ดินมือเปล่าไม่ฟ้องเรียกร้องคืนภายใน 1 ปี ย่อมสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375) การฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎหมายถือว่าที่ดินมือเปล่าเจ้าของไม่มีกรรมสิทธิ มีแต่เพียงสิทธิครอบครองระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง มิใช่นับตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง

                การฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เป็นระยะเวลาสิ้นสุด มิใช่อายุความ  ดังนั้นแม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณายกฟ้องโจทก์ก็ได้

                5) โดยถูกเวนคืนให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 5)

                6) โดยเจ้าของละทิ้ง (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6) เช่น ที่ดิน สค.1 ใบจอง หากเจ้าของสละเจตนาครอบครอง การครอบครองย่อมสิ้นสุด ที่ดินตกเป็นของรัฐ

                สำหรับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หากทอดทิ้ง 5 ปีติดต่อกัน ที่ดินตกเป็นของรัฐประเภทที่รกร้างว่างเปล่า
                landinfo.mnre.go.th/.../ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ดิน.htm

กฎหมายแรงงาน


     กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 
หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร

กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือ ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ

กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

" ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรงงาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"

1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน

2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์

3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน

4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี

1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน

2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด

    * ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
    * ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
    * ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ

3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน

1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน

2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน

3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง

4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด

5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม

วันหยุด

1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง

2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว


1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้

1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ

3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้

1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด

2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา

3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย

4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี

5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้

    * งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    * งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    * งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
    * งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด

3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก
1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง

2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ

3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ

4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ
www.phuketlabour.org/law.htm

กฎหมายธุรกิจ

                                                                       กฏหมายธุรกิจ

                                ถ้า พูดถึงกฎหมายธุรกิจแล้ว มักจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะ บรรพ 3 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญถึง 23 ลักษณะ คือ ลักษณะ 1 ซื้อขาย ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน ลักษณะ 3 ให้ ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ลักษณะ 7 จ้างทำของ ลักษณะ 8 รับขน ลักษณะ 9 ยืม  ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ ลักษณะ 11 ค้ำประกัน ลักษณะ 12 จำนอง ลักษณะ 13 จำนำ ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า ลักษณะ 15 ตัวแทน ลักษณะ 16 นายหน้า ลักษณะ 17 ประนีประนอม  ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด ลักษณะ 20 ประกันภัย ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท ลักษณะ 23 สมาคม

                                ดัง นั้นเราจึงเห็นได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจหรือเอกเทศสัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ และกระผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนคงมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับกฎหมายเอกเทศ สัญญาไม่มากก็น้อย เช่น เรื่องของการค้ำประกัน จำนองและจำนำ

                                การ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ระบุว่า อันว่าค้ำประกันนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น  อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

                                ฉะนั้น เรื่องของการค้ำประกันเป็นเรื่องที่ต้องควรศึกษาและทำความเข้าใจเพราะบางคน ต้องใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นคนก่อหนี้ แต่ต้องใช้หนี้แทนผู้อื่น ซึ่งการค้ำประกันมี 2 ชนิด คือ 1.การประกันด้วยบุคคล และ 2.การประกันด้วยทรัพย์สิน

                                1. การประกันด้วยบุคคล คือ การที่บุคคลหนึ่งเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว เขาจะเป็นผู้ชำระแทนให้ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นประกันให้แก่เจ้าหนี้ก็คือ ตัวบุคคลผู้นั้นเอง(ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ 2539: 386)

                                2. การประกันด้วยทรัพย์สิน คือ การที่เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้เป็นการประกันการชำระหนี้ของ ลูกหนี้ ซึ่งทรัพย์ที่เป็นประกันนี้อาจเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เอง หรือเป็นทรัพย์ของบุคคลภายนอกก็ได้ ซึ่งการประกันด้วยทรัพย์มี 2 ประการ คือ 1.การจำนอง 2.การจำนำ

(ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ 2539: 386)

                                 ส่วน การจำนอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 ระบุว่า คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

                                สำหรับ ทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้จำนองกันได้คือ อสังหาริมทรัพย์(ที่ดินและบ้านเรือน) , เรือกำปั่น ,แพ , สัตว์พาหนะ(ช้าง ม้า วัว ควาย )

                                ส่วน การจำนำ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

                                สำหรับ บทความข้างต้นถามว่าทำไมต้องอ้าง ประมวลกฎหมาย มาตราต่างๆ เพราะ กฎหมายเป็นข้อบังคับ ดังนั้นผู้ศึกษากฎหมายจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายมาตราต่างๆ มาให้เข้าใจ อีกทั้งคำบางคำหรือถ้อยคำบางคำ เราอ่านแล้วฟังแล้ว อาจไม่เข้าใจซึ่งต้องอาศัยการตีความตามกฏหมาย

                                ดัง นั้นการศึกษากฏหมายเอกเทศสัญญาจึงมีความสำคัญมากในการดำรงชีพและการประกอบ ธุรกิจ เพราะจะทำให้เราไม่เสียเปรียบผู้อื่น และที่สำคัญคือเมื่อเรารู้กฏหมายแล้วเราก็ไม่ควรนำความรู้กฎหมายไปเอาเปรียบ ผู้อื่นด้วย
                                www.oknation.net/blog/markandtony/2010/10/09/entry-2

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

                                           กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา(ลิขสิทธิ์)

ลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย :
งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีรายละเอียดที่ควรทราบ คือ ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจด ทะเบียน และสามารถอนุญาให้บุคคลอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนได้ ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งอนุญาตให้บุคคอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ในกรณีบุคคลอื่นกระทำการใด ๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
2. งานนาฏกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
7. งานภาพยนตร์
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
แนวทางเบื้องต้นสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์ :
เกณฑ์การพิจารณาในการใช้งานลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิด ลิขสิทธิ์ไว้ โดยการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร โดยอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ ดังนี้
วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานลิขสิทธิ์ :
1. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อการค้า หรือหากำไร โดยปกติการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นเพื่อการค้นหาหรือหากำไร ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่าง การใช้งานลิขสิทธิ์เพื่อการค้าหรือหากำไร เช่น การนำเพลงของบุคคลอื่นไปทำเทปเพลงเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเป็นการกระทำเพื่อ การค้า หรืออาจารย์ผู้สอนถ่ายสำเนาตำราเรียนบางคอนเพื่อขายนักศึกษาในชั้นเรียนใน ราคาเกินกว่าต้นทุนค่าถ่ายเอกสาร เป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือนำภาพถ่ายของบุคคลไปใช้ในทางการค้าของตนเอง เป็นต้น เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม และถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
2. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นงานของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์นั้นเอง เป็นต้น
3. เป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยปรับเปลี่ยน (transform) ให้ต่งไปจากงานลิขสิทธิ์หรือมีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่เข้าไปหรือไม่ ซึ่งหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ก็เป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม เช่น การคัดลอกอ้างอิง (quote) ในงานวิจัยเพื่ออธิบายความคิดเห็นของผู้เขียน หรือการรายงานข่าวที่ย่อคำกล่าว (speech) ของนายกรัฐมนตรีหรือ ย่อบทความโดยการคัดลอกอ้างอิงมาเพียงสั้น ๆ เป็นต้น
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ :
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 และมาตรา 33 กำหนดให้การรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน เช่น การเผยแพร่เสียง รูปภาพ หรือข้อความจากงานลิขสิทธิ์ ของบุคคลอื่น เป็นตั้น และการกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ดังกล่าวด้วยทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกิน สมควร..


การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย
ผมได้ค้นคว้าพบว่ามีหนังสือหลายเล่มที่กล่าวว่า ได้มีการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยบัญญัติเป็นกฏหมายชัดแจ้ง โดยเริ่มจากการคุ้มครองงานวรรณกรรมโดยประกาศหอสมุดวชิรญาณ ร.ศ.111 หรือ พ.ศ. 2435 หรือกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกของไทย
            ปัจุบันกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประกาศใช้ในประเทศไทย ใน ฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของ WTO และเป็นประเทศกำลังพัฒนา การตรากฎหมายใหม่ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอด คล้องเป็นไปตามความตกลง TRIPs จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ขณะที่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งแก้ไขปรับปรุงและตราขึ้นเพื่อเป็นไปตามความตกลง TRIPs มีดังนี้
            - พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 อันให้ความคุ้มครองงานประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์และแก้ไขเพิ่มเติม และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
    -พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้มีลิขสิทธิ์ ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
            -พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานในสิทธิเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการและแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

            นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิด ในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งฯ ในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไว้อีกเช่นกัน
เทคโนโลยีโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วจากทรัพย์สินทางปัญญาหรือวิวัฒนาการของงานวิศวกรรมก็ตามที สำหรับในประเทศไทยแล้วนอกจากกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและการสื่อสาร ที่เราทราบกันดีอยู่ ยังมีกฏหมายที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่จะมีบทบาทตามมาใน อนาคตอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ ซึ่งกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานอกจาก พรบ. ทั้งสามที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลาย พรบ. อาทิเช่น
-พรบ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539
-พรบ. คุ้มครองแบบผังวงจรรวม พ.ศ. 2543
-พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
-พรบ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
-พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
 
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
1.      สิทธิบัตร
2.      ลิขสิทธิ์และสิทธิเกี่ยวเนื่อง
3.      เครื่องหมายการค้า
4.      สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
5.      การออกแบบอุตสาหกรรม
6.      การออกแบบผังภูมิ (ภูมิสภาพ) ของวงจรรวม
7.      การคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย
 
www.bloggang.com/mainblog.php?id=ibear&month..
www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art