ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเสียภาษี

                                                              
                                                                   ภาษีมรดก

ภาษีมรดกเป็นภาษีเก่าแก่ประเภทหนึ่ง  ซึ่งจัดเก็บมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยจัดเก็บมรดกจากกองทรัพย์มรดกของตาย  และถึงแม้จะนำเงินรายได้มาสู่รัฐเป็นจำนวนน้อยก็ตามแต่ก็เป็นที่นิยมจัดเก็บโดยทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว  เพราะเป็นภาษีที่ยุติธรรมเนื่องจากจัดเก็บเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability  to  Pay)และไม่กระทบกระเทือนประชาชนส่วนใหญ่เพราะเก็บจากกองมรดกหรือการรับมรดกเมื่อมีการตายเกิดขึ้น

          ภาษีมรดกโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า  Death  Taxes  เป็นภาษีส่วนบุคคลที่เก็บจากทรัพย์สิน (Personal  tax  on  property)  หรือเป็นการเก็บจากบุคคลที่ได้รับมรดกหรือทายาทโดยคิดคำนวณจากกองทรัพย์มรดกทั้งหมดหรือส่วนแบ่งทั้งหมดของกองมรดกที่ตกทอดจากผู้ตายไปยังผู้รับมรดก  หรือทายาท

ภาษีมรดกที่จัดเก็บอยู่ในประเทศต่างๆจำแนกได้เป็น

1.ภาษีมรดก (Estate  Tax)  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากกองมรดกของผู้ตาย  โดยเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว  ทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายจะถูกเรียกเก็บภาษีก่อน  ที่เหลือจากการเก็บภาษีจึงจะตกเป็นของทายาทผู้ตาย  ภาษีจะเก็บมูลค่าทั้งหมดของผู้ตาย  โดยไม่คำนึงถึงจำนวนทายาทผู้รับมรดกและความสัมพันธ์ระหว่างทายาท  ผู้รับมรดกกับผู้ตาย  ถ้าผู้ตายไม่มีมรดกก็ไม่ต้องเสียภาษี 

         2.ภาษีการรับมรดก (Inheritance  Tax)  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากทายาทของผู้รับแต่ละคน  โดยทายาทผู้รับต้องเสียภาษีตามจำนวนหรือมูลค่าของทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ  ทั้งนี้อัตราภาษีขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างทายาทผู้รับมรดกกับผู้ตาย  ทายาทที่เป็นญาติสนิทของผู้ตายจะเสียภาษีในอัตราต่ำกว่าทายาทที่เป็นญาติห่างออกไป  และเป็นภาษีเท่ากันในอัตราก้าวหน้าตามจำนวนมูลค่าทรัพย์มรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับโดยมิได้ขึ้นอยู่กับขนาด  หรือมูลค่าของกองมรดกแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี  ภาษีมรดกนี้มักจะเก็บควบคู่กับภาษีการให้ (Gift  Tax)  โดยระบบภาษีทั้ง 2 นี้มักเป็นของคู่กัน  การออกกฎหมายภาษีมรดกแต่เพียงอย่างเดียว  โดยไม่ออกกฎหมายภาษีการให้ประกอบด้วย  หรือการออกกฎหมายภาษีการให้แต่อย่างเดียว  โดยไม่ออกกฎหมายภาษีมรดกด้วย  ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่สมบูรณ์  กล่าวคือ  ภาษีที่ออกบังคับเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะไม่สามารถบังคับใช้อย่างมีผลได้  ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้เสียภาษีย่อมจะหลีกเลี่ยงภาษรีมรดกได้  โดยการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทก่อนที่ตยนจะเสียชีวิตในทำนองเดียวกันหากมีภาษีการให้เพียงอย่างเดียวผู้เสียภาษีก็อาจหลีกเลี่ยงได้โดยรอไว้จนเสียชีวิตจึงมอบให้(เป็นภาษีมรดก)

ภาษีการให้นั้นนอกจากจะมีวัตถุประสงค์สำคัญในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีมรดกแล้ว  ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ด้วย  การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้โดยการจัดเก็บภาษีการให้จะเป็นการป้องกันการโอนทรัพย์สินไปให้กับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน  หรือบุคคลที่เป็นเครือญาติกันเพื่อกระจายรายได้จากทรัพย์สินนั้น  อันเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในอัตราสูง

ภาษีการให้แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ  ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้ (Donor's  Tax)  กับภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับ (Doneer's  Tax )ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้มักใช้ควบคู่กับภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับ (Donee's  Tax) ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้มักใช้ควบคู่กับภาษีกองมรดก  ส่วนภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับมักใช้ควบคู่กับภาษีการรับมรดก

หลักการในการจัดเก็บภาษีกองมรดก (Estate  Tax)

หลักการทั่วๆไปที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีกองมรดกที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการปฎิบัติจัดเก็บ  พอสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

1.ผู้เสียภาษี (Tax  payers)

ตามหลักการผู้เสียภาษี  ได้แก่  ผู้ตายหรือผู้ที่ถึงแก่ชีวิต  ซึ่งผู้มีหน้าที่ยื่นแบบฯและชำระภาษีคือ ผู้จัดการกองมรดก ทายาท ผู้ครอบครองมรดกให้มีหน้าที่ยื่นแบบฯและเสียภาษีในนามของผู้ตาย ประเภทของผู้เสียภาษีหรือผู้ตาย อาจจำแนกได้โดยอาศัยหลักดังนี้

(1)  หลักภูมิลำเนา

(2)  หลักสัญชาติหรือหลักความเป็นพลเมือง

(3)  หลักถิ่นที่อยู่

          2.ฐานภาษี

          ฐานของภาษีกองมรดกเดิม คือ กองมรดกรวม (Gross Estate) ของผู้ตาย สำหรับประเทศที่ใช้หลักภูมิลำเนา กองมรดกรวมแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ

(1)สำหรับผู้ตายที่มีภูมิลำเนาอยู่ภายในประเทศ กองมรดกรวม หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ของผู้ตายในประเทศ สังหาริมทรัพย์ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อยู่ในและนอกประเทศ ทรัพย์สินของผู้ตายที่โอนให้ผู้อื่นก่อนตายภายใน 3 ปี เงินประกันชีวิต ทรัพย์สินของผู้ตายที่ยกให้บุคคลอื่นเมื่อคาดว่าตนจะตาย สิทธิเรียกร้องที่เป็นมูลหนี้หรือประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับและทรัพย์สินของผู้ตายที่ยกให้ผู้อื่นก่อนตาย

(2)สำหรับผู้ตายที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ภายในประเทศ กองมรดกรวม หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องจากบุคคลหรือนิติบุคลที่มีภูมิลำเนาหรือสาขาในประเทศ สัญญาทรัพย์สินที่ทำการจ่ายโอนในประเทศ ไม่มีการจัดเก็บอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่นอกประเทศไม่ว่าผู้ตายจะมีภูมิลำเนาอยู่ในหรือนอกประเทศ

          3.ข้อยกเว้น

            กฎหมายมักกำหนดให้มีข้อยกเว้นสำหรับทรัพย์สินบางประเภท ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นกองมรดก ได้แก่

(1)ทรัพย์สินที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน

(2)มูลค่าต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินผู้ตาย

(3)ทรัพย์สินที่ผู้ตายครอบครองในฐานะผู้พิทักษ์

(4)เงินบำเหน็จบำนาญ ซึ่งจ่ายให้ทารกในจำนวนที่เหมาะสมและสมควร

(5)มูลค่าของศิลปวัตถุ ซึ่งมอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์สถานของส่วนราชการ

(6)หนังสือหรือต้นฉบับหรือผลงานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมอบให้สถาบันทางการศึกษาเพื่อประโยชน์แห่งการศึกษาและวิทยาศาสตร์

          4.อัตราภาษี

          เมื่อนำกองมรดกรวมหักหนี้และภาระผูกพัน ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ก็จะคำนวณภาษีมรดกที่จะต้องเสียตามอัตราที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนมากประเทศต่างๆจะกำหนดอัตราภเษีกองมรดกเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)


หลักการจัดเก็บภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)

          1.ผู้เสียภาษี

          ได้แก่ ทายาทหรือผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ หรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศ แต่มีมรดกอยู่ในประเทศ

          2.ฐานภาษี

          ได้แก่ ราคาภาษีของทรัพย์สินมรดก รวมทั้งทรัพย์สินที่ได้รับภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนเจ้าของมรดกตาย โดยนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้แก่หนี้สิน ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ และค่าลดหย่อนตามกำหนด

          3.ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่

(1)ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับศาสนา กุศลสาธารณะ

(2)เงินที่ได้รับจากการประกันชีวิต

(3)เงินบำเหน็จบำนาญ

(4)ศิลปวัตถุที่มอบให้รัฐ

(5)เงินบริจากให้ราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา

          4.อัตราภาษี

            เป็นอัตราก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับผู้ตาย โดยผู้รับมรดกที่เป็นญาติสนิทกับผู้ตายมักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้รับมรดกที่เป็นญษติห่างออกไป


ผลดีของการจัดเก็บภาษีมรดก

(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน

(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย

(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก

(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก

กฎหมายจราจร

                                                        กฎหมายจราจร                                                                                ถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายจราจรแล้ว ทุกคนน่าจะทราบเป็นอย่างดี เพราะพวกเราทุกคนคงต้องใช้รถใช้ถนนเกือบจะทุกวัน หากท่านเป็นคนที่ทำงานหรือเป็นคนที่จะต้องเดินทาง แต่ตรงกันข้าม กฎหมายจราจร หลายข้อเป็นสิ่งที่เราไม่รู้และคิดว่าเมื่อปฏิบัติอย่างนี้แล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายจราจร เช่น กระผมขอยกข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายที่ควรทราบ โดยยึดหลัก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522(แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538)และการเปรียบเทียบผู้กระทำผิดนั้น ให้เป็นไปตามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(กรมตำรวจ)ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 กรกฏาคม 2540 และเพิ่มเติม  ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2540 โดยกระผมขอยกตัวอย่างที่สำคัญในกฎหมายฉบับนี้

                                1.การนำรถที่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยมาใช้ในทางเดินรถ มีอัตราโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท อัตราตามข้อกำหนด ปรับ 200 บาท(แต่ในทางปฏิบัติเราจะใช้มาตรฐานใดวัดว่า รถคันไหนไม่แข็งแรงมั่นคง ตามความเป็นจริงเรายังเห็นรถที่มีสภาพไม่มีความมั่นคงแข็งแรงขับขี่บนท้องถนนอีกจำนวนมาก)

                                2.ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของรถในเวลากลางวัน ไม่ติดธงสีแดงไว้ที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร มาตราที่กำหนดความผิดและโทษ ม.15 วรรค1,152 อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท(ความจริงในข้อนี้ ยังมีรถอีกมากที่บรรทุกของที่ยื่นเกินความยาวในเวลากลางวัน แต่ไม่ติดธงสีแดงไว้ที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุก)

                                3.ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น มาตราที่กำหนดความผิดและโทษ ม.43(2),160 วรรค 3  อัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ 2,000-10,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ (ข้อนี้เกิดขึ้นมากในสังคมไทย ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากมาย ทำให้คนบาดเจ็บ ล้มตาย ทรัพย์สินเสียหายมากมาย อีกทั้งบางคนหลีกเลี่ยงการโดนจับ โดยการจ้างบริกรหรือคนขับรถรับจ้าง ขับส่งให้ผ่านด่านก่อน แล้วตนเองจึงขับต่อไป ส่วนใหญ่จะเกิดในกรุงเทพฯ )

                                4.ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท อัตราตามข้อกำหนด ปรับ 300 บาท ( ข้อนี้ เราเห็นกันมามากเลยว่า มีคนฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงกันมากโดยเฉพาะวัยรุ่น บางทีให้สัญญาณไฟเหลือง แทนที่จะชะลอรถ กับเร่งส่งให้ฝ่าสัญญาณไฟแดง เพราะกลัวช้าหรือกลัวเสียเวลา ถ้ารอสัญญาณไฟแดง)

                                ความจริง พ.ร.บ.กฏหมายจราจรยังมีอีกมากที่คนขับขี่รถยังไม่ปฏิบัติตาม เช่น การสวมหมวกนิรภัย การไม่เปิดสัญญาณไฟเวลาเลี้ยวรถ ฯลฯ  แต่กระผมขอเขียนแค่ 4 ข้อ ที่สำคัญก่อน ถ้าท่านอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถไปซื้อหนังสือ พ.ร.บ.จราจร มาอ่านได้ หรือ ถ้าเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นท่านสามารถค้นหาผ่านทาง Google ได้ ทั้งนี้ กฎหมายหรือพ.ร.บ.จราจรเป็นเรื่องที่สำคัญ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่คนเป็นจำนวนมากยังฝ่าฝืน ฉะนั้น พวกเราควรช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้และปฏิบัติตาม เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งควรสร้าง ควรปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนให้กับประชาชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเพิ่มความเข้มในทางปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะบ้านเมืองเราขณะนี้ ถูกโจมตีอย่างมากในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย

การสอนกฎหมาย

                                                กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

      กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
      กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี                ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ    1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
          ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
            1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
            2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
            3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
            4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
    2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น

ทรัพย์และทรัพย์สิน ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
     ประเภทของทรัพย์สิน
        1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
        2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

นิติกรรม       นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
     1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
     3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
     1. นิติกรรมที่เป็น  โมฆะ    คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
     2. นิติกรรมที่เป็น  โมฆียะ    คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
        นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ

สัญญาต่าง ๆ ประเภทของสัญญา
      สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
      1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
      2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
      3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
      สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
      1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
      2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
      3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก          และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน          ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
      4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
               - ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
               - ผู้ทอดตลาด
               - ผู้สู้ราคา
               - ผู้ซื้อ
      สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
      1. สัญญาเช่าทรัพย์
            - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
            - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
      2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ         โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย
      สัญญากู้ยืมเงิน
             เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ

       กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
      การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
      การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
      1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
      2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
      1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
      2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
      3. การหย่า
- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน

กฎหมายเรื่องมรดก    มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
   ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
         1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
         2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้
   พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
         
 ๑. กฎหมาย คืออะไร
ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเ่ทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่าค่าสินไหมทดเเทน  ซึ่งมีหลายลักษณะ

      www.mh.ac.th/E_Dream_Web/.../other%20other%20law.htmา "