ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ระบบศาลไทย

ศาลยุติธรรม (อังกฤษ: The Court of Justice)
 เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

    * ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
          o ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลแพ่งมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัด ตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาล ยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
          o ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลอาญานั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่ง ที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะโอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

ที่ทำการศาลอาญา อยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

    * ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค

    * ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) 
เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูก ต้องในการปฏิบัติราชการ


ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"

              o ศาลปกครองกลาง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรีปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
          o ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 12 แห่ง ดังนี้
                + ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ และอุตรดิตถ์[1]
                + ศาลปกครองสงขลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง และสตูล และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา[2]
                + ศาลปกครองนครราชสีมา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์[3]
                + ศาลปกครองอุบลราชธานี มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ
                + ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร
                + ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก พิจิตร และสุโขทัย
                + ศาลปกครองระยอง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว
                + ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในชุมพร
                + ศาลปกครองอุดรธานี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม และเลย
                + ศาลปกครองนครสวรรค์ มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี และเพชรบูรณ์[4]
                + ศาลปกครองเพชรบุรี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม[5]
                + ศาลปกครองภูเก็ต มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง และกระบี่[6]
    * ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

ที่ทำการศาลปกครอง อยู่เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯA

ระบบกฎหมาย

ซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) 
เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

ในเชิงความคิด ซีวิลลอว์เป็นกลุ่มของแนวคิดและระบบกฎหมายซึ่งได้รับมาจากประมวลกฎหมายจัสติเนียน รวมไปถึงกฎหมายของชนเผ่าเยอรมัน สงฆ์ ระบบศักดินา และจารีตประเพณีภายในท้องถิ่นเอง รวมไปถึงความคิดเช่น กฎหมายธรรมชาติ แนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมาย และกลุ่มปฏิฐานนิยม (กลุ่มที่ยึดถือกฎหมายที่บัญญัิติไว้เป็นหลัก)

ซีวิลลอว์ดำเนินจากนัยนามธรรม วางระเบียบหลักการทั่วไป และแบ่งแยกกฎระเบียบสารบัญญัติออกจากระเบียบพิจารณาความ ในระบบนี้จะให้ความสำคัญกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นอันดับแรก เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้น จะพิจารณาก่อนว่ามีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้หรือไม่เกี่ยวกับข้อเท็จ จริงดังกล่าว ถ้ามีก็จะนำกฎหมายลายที่บัญญัติไว้นั้นนำมาปรับใช้กับข้อเท็จจริง หากไม่มีกฎหมายให้พิจารณาจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้นๆ จารีตประเพณีก็คือ ประเพณีที่ประพฤติและปฏิบัติกันมานมนาน และไม่ขัดต่อศีลธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าผิด และถ้าไม่มีจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้อง กฎหมายจะอนุโลมให้ใช้บทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก่อน จนในที่สุดหากยังไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอีก ก็จะให้นำหลักกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้ ดังนั้นในระบบนี้จึงไม่ยึดหลักคำพิพากษาเดิม จะต้องดูตัวบทก่อนแล้วถึงจะตัดสินคดีได้[1]
 ภาพรวม
หลักสำคัญของซีวิลลอว์คือการให้ประชาชนทุกคนสามาถรู้กฎหมายที่ตนและผู้ พิพากษาต้องเคารพและปฏิบัติตาม โดยที่กฎหมายนั้นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ซีวิลลอว์เป็นระบบกฎหมายที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในโลก ถูกนำมาใช้ในลักษณะต่างๆ ประมาณ 150 ประเทศ และเป็นระบบกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน การล่าอาณานิคมทำให้ระบบซีวิลลอว์และระบบซีวิลลอว์อย่างยุโรปถูกนำมาใช้ อย่างกว้างขวางในประเทศกลุ่มละตินอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา

บ่อเกิดสำคัญหลักของกฎหมาย

คือประมวลกฎหมาย ซึ่งเป็นประมวลที่รวบรวมกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไว้อย่างเป็นระบบ การจัดทำประมวลกฎหมายมักจะเกิดจากการที่ฝ่ายนิติบัญญัติบัญญัติกฎหมายใหม่ ขึ้นซึ่งได้รวมถึงกฎหมายในเรื่องเดียวกันนั้นที่มีอยู่แล้วและรวมถึงการตี ความซึ่งผู้พิพากษาซึ่งได้ตีความไว้เป็นคำพิพากษา เพราะในบางกรณีการตีความกฎหมายโดยผู้พิพากษาอาจทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทาง กฎหมาย ระบบกฎหมายที่สำคัญอื่นของโลก เช่น ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบกฎหมายอิสลาม

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท

   1. ซีวิลลอว์ที่ยังใช้กฎหมายโรมันและไม่มีแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่ง ได้แก่ อันดอรา และซานมาริโน
   2. ซีวิลลอว์ที่เป็นระบบผสม กฎหมายโรมันเป็นบ่อเกิดกฎหมายที่สำคัญ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ด้วย ได้แก่ สกอตแลนด์ และประเทศที่ใช้กฎหมายโรมัน-ดัตช์ (แอฟริกาใต้ แซมเบีย ซิมบับเว ศรีลังกา และกียานา)
   3. ซีวิลลอว์ที่ใช้ประมวลกฎหมายเป็นหลัก เช่น ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว "ซีวิลลอว์" จะหมายถึงระบบกฎหมายซีวิลลอว์ประเภทนี้ และในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงซีวิลลอว์ประเภทนี้เป็นหลัก
   4. ซีวิลลอว์ประเภทสแกนดิเนเวียน โดยมีพื้นฐานมาจากกฎหมายโรมันและกฎหมายจารีต รวมไปถึงการจัดทำประมวลกฎหมายบางส่วน กฎหมายของรัฐหลุยเซียน่าและควิเบกอาจถือได้ว่าใช้ระบบผสม ที่มีทั้งประมวลกฎหมายแพ่งในรูปแบบฝรั่งเศสและกฎหมายจารีตของฝรั่งเศสในยุค ก่อนปฏิวัติ และยังได้รับอิทธิพลจากระบบคอมมอนลอว์ด้วย

ตัวอย่างที่สำคัญของซีวิลลอว์ ได้แก่ ประมวลกฎหมายนโปเลียน (1804) ซึ่งตั้งชื่อตามจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย 3 ส่วน กล่าวคือ กฎหมายลักษณะบุคคล ทรัพย์ และกฎหมายพาณิชย์ ประมวลกฎหมายนั้นจะประกอบด้วยหลักกฎหมายที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่การนำคำพิพากษาของศาลมารวบรวมให้เป็นกฎหมาย

ในบางครั้ง อาจเรียกระบบกฎหมายซีวิลลอว์ว่า ระบบกฎหมายโรมันใหม่ ระบบกฎหมายโรมันโน-เยอรมันิค หรือระบบกฎหมายยุโรป

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C_(%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2)
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ: Common law) 
เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร

"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่าง มาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริง ที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีใน อดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น

ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติอันเป็นอุดมคติ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลจะถูกผูกมัดในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เฉพาะเท่านั้น และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนด ศาลบางส่วนก็มีอำนาจยิ่งกว่าศาลทั่วไป อาทิเช่น ในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การตัดสินคดีโดยศาลอุทธรณ์จะ ถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าในการตัดสินดคีความที่มีลักษณะอย่าง เดียวกัน และการตัดสินคดีในอนาคตจะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์นี้ แต่มีเพียงการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าเป็นอำนาจซึ่งไม่ถูกผูกมัดโน้มน้าว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C

พ.ร.บ ยาเสพติด

 พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1
ได้แก่ เฮโรอีน, แอลเอสดี, แอมเฟตามีนและอนุพันธ์ทั้งสิ้น 15 ชนิด เป็นต้น ตัวที่สำคัญ คือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า), เมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน หรือ MDMA (ยาอี) และเมทิลีนไดออกซีแอมเฟตามีน หรือ MDA (ยาเลิฟ) เนื่องจากกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน มีบทลงโทษสูงสุดสำหรับผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ครอบครอง นำเข้าและส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ไม่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใด

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2
เช่น ฝิ่น, มอร์ฟีน,โคเคนและใบโคคา, โคเดอีน และเมทาโดน เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แต่มีโทษมาก ดังนั้นต้องใช้ภายใต้ความควบคุมของแพทย์ และใช้ในเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3
เช่นยาแก้ไอ เข้าฝิ่น ห้ามผลิต,จำหน่าย,นำเข้า หรือส่งออก นอกจากได้รับอนุญาตโดยขออนุญาตเป็นครั้งๆไป ห้ามโฆษณาเพื่อการค้านอกจากกระทำโดยตรงต่อผู้อนุญาต การ
    กระทำผิดมีโทษดังนี้
ผู้ผลิต,นำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ผู้จำหน่ายหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้นำเข้าหรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ผู้ได้รับอนุญาตนำไปใช้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4
เป็นสารเคมีที่ใช้ผลิตสารเสพติดประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามผลิต,จำหน่าย,นำเข้า หรือส่งออก ครอบครองหรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานของทางราชการ
    การกระทำผิดมีโทษดังนี้
     ผู้ผลิต,นำเข้าหรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
     ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
     ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี – 10 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 – 100,000 บาท (หมายเหตุ การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย)

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5
เป็นยาเสพติดอื่นๆ เช่นกัญชา และพืชกระท่อม ห้ามผลิต, นำเข้า หรือส่งออก ครอบครองหรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานของทางราชการ
 การกระทำผิดมีโทษดังนี้
- ผู้ผลิต,นำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท
* ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้ผลิต,นำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
* ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท
* ถ้าเป็นพืชกระท่อมผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ( การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัม ขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย)
ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน

http://www.thanyarak.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=435&Itemid

กฎหมาย

                                                                    กฎหมาย 
เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของ บุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใดๆ"[2]

ระบบกฎหมาย
กล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน ค.ศ. 1894 ว่า "ในความเสมอภาคอันสูงส่งของมัน กฎหมายห้ามมิให้ทั้งคนรวยและจนนอนใต้สะพาน ขอทานบนท้องถนนและขโมยแถวขนมปังอย่างเดียวกัน"[3] ในประชาธิปไตยตามแบบ สถาบันกลางสำหรับการตีความและบัญญัติกฎหมาย คือ สามฝ่ายหลักของรัฐบาล ได้แก่ ฝ่ายตุลาการอันไม่ลำเอียง ฝ่ายนิติบัญญัติอันเป็นประชาธิปไตย และฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการนำกฎหมายไปปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนให้บริการแก่สาธารณชน ระบบราชการหรือรัฐการของรัฐบาล คือ ทหารและตำรวจนั้นสำคัญ แม้องค์กรของรัฐทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกฎหมายและถูก ผูกพันด้วยกฎหมาย แต่วิชาชีพทางกฎหมายอิสระและประชาสังคมก็แจ้งและสนับสนุนความก้าวหน้าของ องค์กรเหล่านี้
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

           พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยในสำนักของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมาทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบและได้ทรงศึกษาชั้นมัธยมที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์เซิร์ซมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดจนสำเร็จได้ปริญญาตรีเกียรตินิยมสาขากฎหมาย  หลังสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้เสด็จกลับประเทศไทยและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมสำหรับหัวเมืองจนสำเร็จทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมของประเทศจากระบบเก่ามาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้บทกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาความแพ่งและอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ราชการศาลยุติธรรมทัดเทียมกับนานาอารยประเทศและมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
          ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็นประธานคณะกรรมการการตรวจพระราชกำหนดบทอัยการที่ใช้อยู่และจัดวางระเบียบไว้เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากในการตรวจชำระบทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะการจัดทำกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรกสำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทยได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่าการที่จะให้ราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมดำเนินไปได้ด้วยดีนั้นจำเป็นต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอนชุดวิชากฎหมายขึ้นให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อพ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอนกฎหมายครั้งแรกพระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
ทรงห่วงใยนักเรียนกฎหมายและปรารถนาที่จะให้ใช้วิชากฎหมายในทางปฏิบัติจริงๆ จึงทรงสนับสนุนการว่าความนักเรียนคนใดไม่มีความจะว่าก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหาในเรือนจำ นอกจากการสอนประจำวันแล้วพระองค์ยังทรงแต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่างๆมากมายและทรงรวบรวมกฎหมายตราสามดวงอันเป็นกฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้นรวมทั้งพระราชบัญญัติบางฉบับและคำพิพากษาฎีกาบางเรื่องโดยจัดพิมพ์ขึ้นเป็นสมุดเล่มใหญ่แบ่งเป็นหมวดหมู่มีคำอธิบายและสารบัญละเอียดกฎหมายตราสามดวงที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่ากฎหมายราชบุรีซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
          ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิตผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการเป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกันบางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมายการตั้งโรงเรียนกฎหมายและพระนิพนธ์ทางกฎหมายของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐานในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมได้ทรงขอลาออกจากราชการเนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเองต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติและได้ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการและในปีนั้นเองทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ระหว่างที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไขและวางระเบียบการในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้นคือทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลายทั่วพระราชอาณาจักรโดยทรงจัดให้มีการประชุมนายทะเบียนเป็นครั้งคราวทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดินซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีและทรงทำนุบำรุงการเกษตรโดยเฉพาะเรื่องการชลประทานและการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลาไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
           จากการที่ได้ทรงทุ่มเทพพระวรกายศึกษาวิชาการทางกฎหมายและทรงทำให้ระบบกฎหมายและศาลยุติธรรมของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เองทำให้ประชาชนต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคมซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็น "วันรพี" เพื่อให้บรรดานักกฎหมายได้มีโอกาสแสดงความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านด้วยการวางพวงมาลาหน้าพระรูปและบำเพ็ญกุศลร่วมกันตลอดจน การจัดกิจกรรมทางกฎหมายในหลายรูปแบบเพื่อเผยแพร่วิชาการกฎหมายให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ที่ต้องการให้นักกฎหมายมีบทบาทในการพัฒนาประเทศโดยพัฒนากฎหมายให้ก้าวหน้าเหมาะสมแก่สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยและใช้กฏหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน 

ที่มา : http://www.thailandroad.com/chaninat/rapree.htm