ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเสียภาษี

                                                              
                                                                   ภาษีมรดก

ภาษีมรดกเป็นภาษีเก่าแก่ประเภทหนึ่ง  ซึ่งจัดเก็บมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยจัดเก็บมรดกจากกองทรัพย์มรดกของตาย  และถึงแม้จะนำเงินรายได้มาสู่รัฐเป็นจำนวนน้อยก็ตามแต่ก็เป็นที่นิยมจัดเก็บโดยทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว  เพราะเป็นภาษีที่ยุติธรรมเนื่องจากจัดเก็บเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability  to  Pay)และไม่กระทบกระเทือนประชาชนส่วนใหญ่เพราะเก็บจากกองมรดกหรือการรับมรดกเมื่อมีการตายเกิดขึ้น

          ภาษีมรดกโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า  Death  Taxes  เป็นภาษีส่วนบุคคลที่เก็บจากทรัพย์สิน (Personal  tax  on  property)  หรือเป็นการเก็บจากบุคคลที่ได้รับมรดกหรือทายาทโดยคิดคำนวณจากกองทรัพย์มรดกทั้งหมดหรือส่วนแบ่งทั้งหมดของกองมรดกที่ตกทอดจากผู้ตายไปยังผู้รับมรดก  หรือทายาท

ภาษีมรดกที่จัดเก็บอยู่ในประเทศต่างๆจำแนกได้เป็น

1.ภาษีมรดก (Estate  Tax)  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากกองมรดกของผู้ตาย  โดยเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว  ทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายจะถูกเรียกเก็บภาษีก่อน  ที่เหลือจากการเก็บภาษีจึงจะตกเป็นของทายาทผู้ตาย  ภาษีจะเก็บมูลค่าทั้งหมดของผู้ตาย  โดยไม่คำนึงถึงจำนวนทายาทผู้รับมรดกและความสัมพันธ์ระหว่างทายาท  ผู้รับมรดกกับผู้ตาย  ถ้าผู้ตายไม่มีมรดกก็ไม่ต้องเสียภาษี 

         2.ภาษีการรับมรดก (Inheritance  Tax)  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากทายาทของผู้รับแต่ละคน  โดยทายาทผู้รับต้องเสียภาษีตามจำนวนหรือมูลค่าของทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ  ทั้งนี้อัตราภาษีขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างทายาทผู้รับมรดกกับผู้ตาย  ทายาทที่เป็นญาติสนิทของผู้ตายจะเสียภาษีในอัตราต่ำกว่าทายาทที่เป็นญาติห่างออกไป  และเป็นภาษีเท่ากันในอัตราก้าวหน้าตามจำนวนมูลค่าทรัพย์มรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับโดยมิได้ขึ้นอยู่กับขนาด  หรือมูลค่าของกองมรดกแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี  ภาษีมรดกนี้มักจะเก็บควบคู่กับภาษีการให้ (Gift  Tax)  โดยระบบภาษีทั้ง 2 นี้มักเป็นของคู่กัน  การออกกฎหมายภาษีมรดกแต่เพียงอย่างเดียว  โดยไม่ออกกฎหมายภาษีการให้ประกอบด้วย  หรือการออกกฎหมายภาษีการให้แต่อย่างเดียว  โดยไม่ออกกฎหมายภาษีมรดกด้วย  ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่สมบูรณ์  กล่าวคือ  ภาษีที่ออกบังคับเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะไม่สามารถบังคับใช้อย่างมีผลได้  ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้เสียภาษีย่อมจะหลีกเลี่ยงภาษรีมรดกได้  โดยการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทก่อนที่ตยนจะเสียชีวิตในทำนองเดียวกันหากมีภาษีการให้เพียงอย่างเดียวผู้เสียภาษีก็อาจหลีกเลี่ยงได้โดยรอไว้จนเสียชีวิตจึงมอบให้(เป็นภาษีมรดก)

ภาษีการให้นั้นนอกจากจะมีวัตถุประสงค์สำคัญในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีมรดกแล้ว  ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ด้วย  การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้โดยการจัดเก็บภาษีการให้จะเป็นการป้องกันการโอนทรัพย์สินไปให้กับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน  หรือบุคคลที่เป็นเครือญาติกันเพื่อกระจายรายได้จากทรัพย์สินนั้น  อันเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในอัตราสูง

ภาษีการให้แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ  ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้ (Donor's  Tax)  กับภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับ (Doneer's  Tax )ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้มักใช้ควบคู่กับภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับ (Donee's  Tax) ภาษีการให้ที่เก็บจากผู้ให้มักใช้ควบคู่กับภาษีกองมรดก  ส่วนภาษีการให้ที่เก็บจากผู้รับมักใช้ควบคู่กับภาษีการรับมรดก

หลักการในการจัดเก็บภาษีกองมรดก (Estate  Tax)

หลักการทั่วๆไปที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีกองมรดกที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการปฎิบัติจัดเก็บ  พอสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

1.ผู้เสียภาษี (Tax  payers)

ตามหลักการผู้เสียภาษี  ได้แก่  ผู้ตายหรือผู้ที่ถึงแก่ชีวิต  ซึ่งผู้มีหน้าที่ยื่นแบบฯและชำระภาษีคือ ผู้จัดการกองมรดก ทายาท ผู้ครอบครองมรดกให้มีหน้าที่ยื่นแบบฯและเสียภาษีในนามของผู้ตาย ประเภทของผู้เสียภาษีหรือผู้ตาย อาจจำแนกได้โดยอาศัยหลักดังนี้

(1)  หลักภูมิลำเนา

(2)  หลักสัญชาติหรือหลักความเป็นพลเมือง

(3)  หลักถิ่นที่อยู่

          2.ฐานภาษี

          ฐานของภาษีกองมรดกเดิม คือ กองมรดกรวม (Gross Estate) ของผู้ตาย สำหรับประเทศที่ใช้หลักภูมิลำเนา กองมรดกรวมแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ

(1)สำหรับผู้ตายที่มีภูมิลำเนาอยู่ภายในประเทศ กองมรดกรวม หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ของผู้ตายในประเทศ สังหาริมทรัพย์ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อยู่ในและนอกประเทศ ทรัพย์สินของผู้ตายที่โอนให้ผู้อื่นก่อนตายภายใน 3 ปี เงินประกันชีวิต ทรัพย์สินของผู้ตายที่ยกให้บุคคลอื่นเมื่อคาดว่าตนจะตาย สิทธิเรียกร้องที่เป็นมูลหนี้หรือประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับและทรัพย์สินของผู้ตายที่ยกให้ผู้อื่นก่อนตาย

(2)สำหรับผู้ตายที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ภายในประเทศ กองมรดกรวม หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องจากบุคคลหรือนิติบุคลที่มีภูมิลำเนาหรือสาขาในประเทศ สัญญาทรัพย์สินที่ทำการจ่ายโอนในประเทศ ไม่มีการจัดเก็บอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่นอกประเทศไม่ว่าผู้ตายจะมีภูมิลำเนาอยู่ในหรือนอกประเทศ

          3.ข้อยกเว้น

            กฎหมายมักกำหนดให้มีข้อยกเว้นสำหรับทรัพย์สินบางประเภท ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นกองมรดก ได้แก่

(1)ทรัพย์สินที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน

(2)มูลค่าต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินผู้ตาย

(3)ทรัพย์สินที่ผู้ตายครอบครองในฐานะผู้พิทักษ์

(4)เงินบำเหน็จบำนาญ ซึ่งจ่ายให้ทารกในจำนวนที่เหมาะสมและสมควร

(5)มูลค่าของศิลปวัตถุ ซึ่งมอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์สถานของส่วนราชการ

(6)หนังสือหรือต้นฉบับหรือผลงานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมอบให้สถาบันทางการศึกษาเพื่อประโยชน์แห่งการศึกษาและวิทยาศาสตร์

          4.อัตราภาษี

          เมื่อนำกองมรดกรวมหักหนี้และภาระผูกพัน ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ก็จะคำนวณภาษีมรดกที่จะต้องเสียตามอัตราที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนมากประเทศต่างๆจะกำหนดอัตราภเษีกองมรดกเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)


หลักการจัดเก็บภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)

          1.ผู้เสียภาษี

          ได้แก่ ทายาทหรือผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ หรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศ แต่มีมรดกอยู่ในประเทศ

          2.ฐานภาษี

          ได้แก่ ราคาภาษีของทรัพย์สินมรดก รวมทั้งทรัพย์สินที่ได้รับภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนเจ้าของมรดกตาย โดยนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้แก่หนี้สิน ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ และค่าลดหย่อนตามกำหนด

          3.ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่

(1)ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับศาสนา กุศลสาธารณะ

(2)เงินที่ได้รับจากการประกันชีวิต

(3)เงินบำเหน็จบำนาญ

(4)ศิลปวัตถุที่มอบให้รัฐ

(5)เงินบริจากให้ราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา

          4.อัตราภาษี

            เป็นอัตราก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับผู้ตาย โดยผู้รับมรดกที่เป็นญาติสนิทกับผู้ตายมักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้รับมรดกที่เป็นญษติห่างออกไป


ผลดีของการจัดเก็บภาษีมรดก

(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน

(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย

(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก

(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น