ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายครอบครัว

                                                              กฎหมายครอบครัว
การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที

กรณีของหมั้นเป็นขอบบุคคลภายนอกมีข้อพิจารณา ดังนี้
(๑) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้นและเจ้าของไม่ยินยอมอนุญาตให้ยืมเอาไปเป็น ของหมั้น เจ้าของนั้นมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๐ แต่ถ้าเป้นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริตแล้ว เจ้าของเงินตรามาเอาคืนไม่ได้ เพราะสิทธิของหญิงคู่หมั้นที่ได้เงินตรามาโดยสุจริตไม่เสียไปตามมาตรา ๑๓๓๑
(๒) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้น เจ้าของทรัพย์สินให้ยืมไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมชั่วคราว เมื่อหญิงไม่รู้เรื่องด้วยแล้ว ของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายยกให้หญิงไม่ใช่ในฐานะเป็นสินสอดหรือของหมั้น หากหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

ลักษณะสำคัญของของหมั้น
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน
๒. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมมรส (ถ้าให้หลังสมรสก็ไม่ใช่ของหมั้น)

การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
๑. คู่สัญญาหมั้นทั้ง ๒ ฝ่าย ตกลงยินยอมเลิกสัญญา
- ตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
- ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย
- คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยจะเรียกค่าทดแทนอะไรจากกันไม่ได้
๒. ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย
- การตายไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น
- หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นหรือสินสอด แม้ความตายจะเกิดจากการฆ่าตัวตายหรือถูกอีกฝ่ายจงใจฆ่าตายก็ตาม
- ความตายที่ว่านี้ไม่รวมถึงการสาบสูญ
๓. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น
- ใช้เหตุเดียวกับเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ ส่วนเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุหย่าก็ถือเป็นเหตุสำคัญได้ เช่น คู่หมั้นถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย หรือถูกศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นต้น
- โดยหลักแล้วไม่ว่าฝ่ายชาหรือหญิงเลิกสัญญาหมั้นเพราะเหตุสำคัญอันเกิดจาก หญิงหรือชายคู่หมั้น ฝ่ายชายหรือหญิงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ แต่หากเหตุที่เกิดปก่คู่หมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ฝ่ายนั้นตามมาตรา ๑๔๔๔ ยกเว้นไว้ว่าคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนเสมือน เป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
๓.๑ ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น เช่น หญิงยินยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีในระหว่างการหมั้น หญิงวิกลจริตหรือได้รับอันตรายสาหัสจนพิการ หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น ผลคือ ชายเรียกของหมั้นคืนได้และหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย
๓.๒ หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายไร้สมรรถภาพทางเพศ เป็นคนวิกลจริตหรือพิการ เป็นนักโทษและกำลังรับโทษอยู่ ร่วมประเวณีกับหญิงอื่น ไปเป็นชู้กับภริยาคนอื่น ข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น เป็นต้น นอกจากนี้แม้เหตุสำคัญดังกล่าวจะมาจากความผิดของหญิงคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ผลของการบอกเลิกสัญญาหมั้นหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชาย


การสมรสหลักเกณฑ์การสมรส มีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเปินหญิง
๒. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงสมรสกันโดยไม่ได้เกิดจากความยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
๓. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต
๔. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว

เงื่อนไขการสมรส
๑. ชายและหญิงต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็น
โมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๓
๒. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
๓. ญาติสนิทสมรสกันไม่ได้ ญาติสนิทมี ๔ ประเภท คือ
(๑) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
(๒) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา
ผลของการฝ่าฝืนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต ญาติสนิทถือตามความเป็นจริง
๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นก็ยังคงสมบูรณ์ มีผลเพียงการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๔๕๑ เท่านั้น
๕. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนเป้นการสมรสซ้อนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต
(๑) แม้คู่สมรสอีกฝ่ายจะสุจริตโดยไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม การสมรสนั้นก็ยังต้องเป็นโมฆะอยู่
(๒) คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น ก่อนที่จะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
(๓) กรณีชายหรือหญิงมีคู่สมรสแล้ว แต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ชายหรือหญิงนั้นไม่อาจสมรสใหม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะเสียก่อน
๖. ชายหรือหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หากไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกันจริงๆ การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างชาย หรือหญิงนั้นเป็นโมฆะได้ตามมาตรา ๑๔๙๖ วรรคสอง


๗. หญิงหม้ายจะสามารถใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน (มาตรา ๑๔๕๓) แต่มีข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายทำการสมรสได้ ๔ ประการคือ
(๑) หญิงนั้นได้คลอดบุตรแล้ว
(๒) หญิงนั้นสมรสกับสามีคนก่อน
(๓) มีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นมิได้ตั้งครรภ์
(๔) มีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้
การสมรสที่ฝ่าฝืนนี้สมบูรณ์และบุตรที่เกิดมาภายใน ๓ๆ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ตาม มาตรา ๑๕๓๗
๘. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

การหย่า
การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย
(๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง
(๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์

๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้
๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

๒.๓ สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นการร้ายแรง
๒.๔ สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี
๒.๕ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร
๒.๖ เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) แบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
(๑) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี
ข้อสังเกต ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจฝ่ายเดียว
(๒) แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเกิน ๓ ปี
๒.๗ สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร
๒.๘ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย หรือเดือนร้อนเกินควร
๒.๙ สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๐ สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๑ สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้
๒.๑๒ สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ
(๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น
(๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย
(๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว

อายุความฟ้องหย่า
๑. กรณีเหตุหย่าบางเหตุซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อันได้แก่ อุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว หรือทรมานจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออุปการระเลี้ยงดู กันหรือกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป้นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง กำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตน อาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
๒. กรณีเหตุหย่าที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือเป้นดรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น ไม่มีอายุความ ตราบใดที่มีเหตุนั้นก็ฟ้องหย่าได้
๓. กรณีผิดทัณฑ์บนไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ แต่ให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

การขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องหย่า ได้ในเรื่อง
(๑) สินสมรส
(๒) ที่พักอาศัย
(๓) การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา
(๔) การพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
นอกจากเรื่องทั้ง ๔ เรื่องข้างต้นแล้ว อาจขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง
ประโยชน์ของตนได้อีกตามที่ศาลเห็นสมควร


www.siamjurist.com ? ... ? กฎหมาย ? ห้องติว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น