ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

                                           กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา(ลิขสิทธิ์)

ลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย :
งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีรายละเอียดที่ควรทราบ คือ ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจด ทะเบียน และสามารถอนุญาให้บุคคลอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนได้ ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งอนุญาตให้บุคคอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ในกรณีบุคคลอื่นกระทำการใด ๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
2. งานนาฏกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
7. งานภาพยนตร์
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
แนวทางเบื้องต้นสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์ :
เกณฑ์การพิจารณาในการใช้งานลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิด ลิขสิทธิ์ไว้ โดยการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร โดยอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ ดังนี้
วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานลิขสิทธิ์ :
1. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อการค้า หรือหากำไร โดยปกติการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นเพื่อการค้นหาหรือหากำไร ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่าง การใช้งานลิขสิทธิ์เพื่อการค้าหรือหากำไร เช่น การนำเพลงของบุคคลอื่นไปทำเทปเพลงเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเป็นการกระทำเพื่อ การค้า หรืออาจารย์ผู้สอนถ่ายสำเนาตำราเรียนบางคอนเพื่อขายนักศึกษาในชั้นเรียนใน ราคาเกินกว่าต้นทุนค่าถ่ายเอกสาร เป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือนำภาพถ่ายของบุคคลไปใช้ในทางการค้าของตนเอง เป็นต้น เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม และถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
2. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นงานของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์นั้นเอง เป็นต้น
3. เป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยปรับเปลี่ยน (transform) ให้ต่งไปจากงานลิขสิทธิ์หรือมีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่เข้าไปหรือไม่ ซึ่งหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ก็เป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม เช่น การคัดลอกอ้างอิง (quote) ในงานวิจัยเพื่ออธิบายความคิดเห็นของผู้เขียน หรือการรายงานข่าวที่ย่อคำกล่าว (speech) ของนายกรัฐมนตรีหรือ ย่อบทความโดยการคัดลอกอ้างอิงมาเพียงสั้น ๆ เป็นต้น
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ :
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 และมาตรา 33 กำหนดให้การรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน เช่น การเผยแพร่เสียง รูปภาพ หรือข้อความจากงานลิขสิทธิ์ ของบุคคลอื่น เป็นตั้น และการกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ดังกล่าวด้วยทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกิน สมควร..


การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย
ผมได้ค้นคว้าพบว่ามีหนังสือหลายเล่มที่กล่าวว่า ได้มีการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยบัญญัติเป็นกฏหมายชัดแจ้ง โดยเริ่มจากการคุ้มครองงานวรรณกรรมโดยประกาศหอสมุดวชิรญาณ ร.ศ.111 หรือ พ.ศ. 2435 หรือกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกของไทย
            ปัจุบันกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประกาศใช้ในประเทศไทย ใน ฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของ WTO และเป็นประเทศกำลังพัฒนา การตรากฎหมายใหม่ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอด คล้องเป็นไปตามความตกลง TRIPs จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ขณะที่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งแก้ไขปรับปรุงและตราขึ้นเพื่อเป็นไปตามความตกลง TRIPs มีดังนี้
            - พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 อันให้ความคุ้มครองงานประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์และแก้ไขเพิ่มเติม และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
    -พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้มีลิขสิทธิ์ ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
            -พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานในสิทธิเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการและแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

            นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิด ในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งฯ ในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไว้อีกเช่นกัน
เทคโนโลยีโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วจากทรัพย์สินทางปัญญาหรือวิวัฒนาการของงานวิศวกรรมก็ตามที สำหรับในประเทศไทยแล้วนอกจากกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและการสื่อสาร ที่เราทราบกันดีอยู่ ยังมีกฏหมายที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่จะมีบทบาทตามมาใน อนาคตอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ ซึ่งกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานอกจาก พรบ. ทั้งสามที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลาย พรบ. อาทิเช่น
-พรบ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539
-พรบ. คุ้มครองแบบผังวงจรรวม พ.ศ. 2543
-พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
-พรบ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
-พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
 
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
1.      สิทธิบัตร
2.      ลิขสิทธิ์และสิทธิเกี่ยวเนื่อง
3.      เครื่องหมายการค้า
4.      สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
5.      การออกแบบอุตสาหกรรม
6.      การออกแบบผังภูมิ (ภูมิสภาพ) ของวงจรรวม
7.      การคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย
 
www.bloggang.com/mainblog.php?id=ibear&month..
www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น